การวิจัยและพัฒนาที่
ControlExpert

 

การวิจัยและพัฒนา

ในฐานะผู้บุกเบิกทางด้านกระบวนการดิจิทัล เรามองถึงความเป็นไปได้อยู่เสมอในการรวมเทคโนโลยีล่าสุดเข้ากับกระบวนการที่มีอยู่เพื่อลดความซับซ้อนและเพิ่มความเร็วในการทำงาน นั่นคือเหตุผลที่เรามีแผนกวิจัยและพัฒนาของเราเองตั้งแต่ปี 2558 เรามีทีมงานวิจัยทั้งหมด 30 คน ได้ร่วมกันวิจัยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์บนรถเพื่อตรวจจับความเสียหายของรถยนต์ และใช้คำนวณมูลค่าของความเสียหาย อีกหนึ่งตัวอย่างของการวิจัยคือการตรวจจับภาพอัตโนมัติซึ่งสามารถช่วยตรวจจับระดับความเสียหายและชิ้นส่วนอะไหล่ของรถยนต์ได้อย่างแม่นยำ
เป้าหมายของเราคือการปรับปรุงแอปพลิเคชันและผลิตภัณฑ์ของเราอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของเรา

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล 30 คน จากสาขาต่อไปนี้:

เทเลเมติกส์ – เคลมข้อมูลในไม่กี่วินาที

วิสัยทัศน์:

“ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ความเสียหายจะต้องวัดได้ก่อนที่รถจะหยุดนิ่ง”

  • เก็บข้อมูลโดยใช้เซ็นเซอร์ที่มีอยู่แล้วในตัวรถ
  • เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับสภาวะของอุบัติเหตุและขอบเขตของความเสียหาย
  • เชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลของ CE เพื่อประเมินการเคลมได้อย่างแม่นยำ

ระบบ ตรวจจับภาพอัตโนมัติ

Facebook, Google, Apple – ทั้ง 3 บริษัทกำลังมุ่งหน้าพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเทคโนโลยีจดจำใบหน้า โดยที่ ControlExpert เราใช้วิธีการและอัลกอริทึมเดียวกันกับภาพรถยนต์

  • การตรวจสอบโดยช่างยานยนต์นั้นเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • รูปภาพจะถูกกำหนดโซนที่ได้รับความเสียหายโดยอัตโนมัติ
  • ในอนาคตจะมีระบบคำนวณล่วงหน้าโดยอัตโนมัติ
  • รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1

การตรวจจับ

ระบุและแบ่งประเภทอะไหล่ต่างๆ จากรูปถ่าย

2

การแยกแยะ

ระบุความเสียหายของชิ้นส่วนและอะไหล่ต่างๆ

3

ประเมินผล

ระบุระดับความเสียหายของแต่ละชิ้นส่วน

4

การคำนวณ

ประเมินและกำหนดราคาในการซ่อม

Chatbots และผู้ช่วยด้านภาษา

“แชตบอตหรือผู้ช่วยทางด้านภาษาทำให้กระบวนการติดต่อเบื้องต้นกับลูกค้าง่ายขึ้น ผู้ที่รับหน้าที่ในส่วนของการจัดการเคลมจึงมีเวลามากขึ้นสำหรับคำขอของลูกค้าที่มีความซับซ้อนและใช้ความชำนาญในการจัดการ"”

  • เพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพในการเข้าถึงลูกค้า
  • พร้อมให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
  • เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

แชตบอตคือหนึ่งในความสำเร็จของเรา

 

2016 – InsurHack (Zurich): 
„Claim settlement with Chatbots” (อันดับที่ 2)

 

2017 – HackNEXT (Allianz): 
„Carlexa“ (อันดับที่ 2)

การพิมพ์ 3 มิติ

“อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่จะถูกปฏิวัติ การพัฒนา การผลิต และการขายจะต้องได้รับการพิจารณาใหม่ทั้งหมด”

โครงการวิจัย “It’s Digitive”
 
  • Research question:
    การพิมพ์ 3 มิติสามารถนำไปใช้ในห่วงโซ่การสร้างมูลค่าได้อย่างไร?
  • Research tasks:
    การพัฒนาและออกแบบบริการ 3 มิติสำหรับการประมวลผลร่วมกันที่ปลอดภัย
  • ControlExpert’s task:
    การพัฒนาแพลตฟอร์มการสื่อสารเพื่อถ่ายโอนข้อกำหนดกระบวนการบำรุงรักษาในภาคยานยนต์
  • พาร์ตเนอร์ที่เข้าร่วม:
    Fraunhofer Institute, Ruhr University Bochum, Technical University Dortmund, KHS, Sturm, Belfor DeHaDe
สนับสนุนโดย:

การประเมินความเสียหายด้วย AI
ในภาพถ่ายและวิดีโอ

“การตรวจจับความเสียหายโดยใช้ AI ในการคำนวณความเสียหายของยานพาหนะจากภาพถ่ายและวิดีโอ”

โครงการวิจัย Bergische Innovationsplattform für Künstliche Intelligenz“ (BIT) (Bergisch innovation platform for artificial intelligence)
 
  • Research question:
    สถาปัตยกรรมโมเดลใหม่ล่าสุดเรียนรู้จากภาพถ่ายหรือวิดีโอที่แสดงความเสียหายได้ดีขึ้นหรือไม่?
  • Task ControlExpert:
    • การพัฒนาโมเดลแมชชีนเลิร์นนิงสำหรับการตรวจจับและประเมินความเสียหายของภาพถ่ายและวิดีโอ
    • ทดสอบโมเดลแมชชีนเลิร์นนิงทางวิทยาศาสตร์ด้วยข้อมูลจริงโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ
  • พาร์ตเนอร์ที่เข้าร่วม:
    Bergische Universität Wuppertal, Hochschule Bochum, Institut für Qualitäts- und Zuverlässigkeitsmanagement GmbH, Lorent IT-Lösungen GmbH.
สนับสนุนโดย: